Baby Milk

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559

ใบงานที่ 3 พรบ. คอมพิวเตอร์

ใบงานที่ 3 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2559






                   พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 ถูกเริ่มร่างเมื่อปี 2558  และยังคงแก้ใขต่อเนื่องมาถึงปี 2559 ดังนั้น    พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2558 ก็คือฉบับเดียวกันกับพ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559

   ทั้งนี้ ในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ระบุถึงเหตุผลที่ต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับปัจจุบันว่า “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระ   ทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมต่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน…….ซึ่งมีรูปแบบการกระทำความผิดที่มีความซับซ้อนมากขึ้นตามพัฒนาการทางเทคโนโลยี ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว”
สำหรับเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
มาตรา 4
 “ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้ อันเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท”
มาตรา 5
กำหนดว่า ถ้าผู้ใดกระทำผิดใน 5 ประการ ได้แก่
1.การเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน
2.นำมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะไปเปิดเผยโดยมิชอบ
3.ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน
4.ดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ และ
5.ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว





                   เรื่องการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างความเสียหายให้กับบุคคล ร่างกฎหมายฉบับนี้ก็ได้มีกระบวนการจัดการกับผู้กระทำความผิดเข้มข้นมากขึ้นด้วย
โดนบัญญัติในมาตรา 10 ว่า “ผู้นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่นและภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท”
มาตรา 10 ดังกล่าวเป็นการแก้ไขเพื่อเพิ่มบทลงโทษให้มากขึ้นโดยให้ผู้กระทำผิดต้องรับทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ จากเดิมที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กำหนดการกระทำความผิดในลักษณะที่ว่านั้นด้วยการต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ขณะเดียวกัน ในร่างกฎหมายที่ ครม.เสนอให้ สนช.พิจารณา ยังได้บัญญัติมาตรการทางศาลเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายด้วย โดยมาตรา 11 ระบุว่า “ในคดีซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่ง
(1) ให้ยึดและทำลายข้อมูล
(2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในสื่อที่ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือหนังสือพิมพ์ ตามที่ศาลเห็นสมควร โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา”
เช่นเดียวกับ มาตรา 20 ที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแต่งตั้ง ยื่นคำร้องพร้อมแสดงหลักฐานต่อศาลขอให้มีคำสั่งระงับการเผยแพร่หรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ในที่นี้มีด้วยกัน 4 ประเภท ดังนี้
(1) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.นี้
(2) ข้อมูลที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ 1 หรือลักษณะ 1/1 ตามประมวลกฎหมายอาญา
(3) ข้อที่เป็นความผิดอาญาต่อกฎหมายอื่นซึ่งเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้นได้ร้องขอ และข้อมูลนั้นมีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(4) ข้อมูลที่ไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายอื่นแต่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรืออันดีของประชาชน ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่รัฐมนตรีมีมติเป็นเอกฉันท์






ความผิด พรบ.คอม มาตรา 14 ระบุไว้ว่า  “ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) “



อีกกรณีที่ต้องระวังสำหรับผู้ใช้คอ Social Network    โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ เจออะไร ขอกดแชร์ หรือส่งต่อ เช่นได้ข้อความมาใน Line, หรือทาง Facebook  , Twitter เจอปุ๊บ share ปั๊บ หรือส่งต่อให้กับเพื่อนๆ ทั้งทาง Line หรือทางอีเมล โดยที่ไม่ได้ตรวจสอบก่อนว่าข้อความนั้น จริงรึเปล่า….? หากเผลอแชร์ทันที ทั้งๆเป็นข้อมูลเท็จ  การกระทำลักษณะแบบนี้ ผิด พรบ.คอมพิวเตอร์  ซึ่งหากตรวจสอบว่าผิดจริง ผู้แชร์ก็อาจถูกดำเนินคดี ได้ และอาจถึงขั้นจำคุก หรือปรับ


สภานิติบัญญัติแห่งชาติโหวตผ่านร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่มีการแก้ไขเนื้อหาหลายอย่าง สำหรับคนทำงานไอทีโดยทั่วไป จุดสำคัญของร่างนี้พบ 3 จุดสำคัญ
มีหลักการแจ้งเตือนผู้ให้บริการให้ทำตามแล้ว โดยมาตรา 15 ของพ.ร.บ. ระบุให้รัฐมนตรีออกประกาศขั้นตอนการทำตามคำแจ้งเตือน เมื่อทำตามแล้วไม่ต้องรับโทษ
การบล็อคเว็บมีกรรมการพิจารณา จากเดิมการบล็อคเว็บต้องเป็นการบล็อคเว็บที่มีความผิดตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ เท่านั้น ร่างใหม่นี้กำหนดความผิดที่สามารถบล็อคเว็บได้กว้างขวางกว่าเดิม รวมถึงข้อมูลที่ไม่ผิดกฎหมายแต่คณะกรรมการกลั่นกรองมีมติให้บล็อค
ขยายเวลาเก็บล็อก จากเดิมเจ้าหน้าที่สามารถขอให้เก็บรักษาไว้ไม่เกิน 1 ปี เป็น 2 ปี
นอกเหนือจากประเด็นสำหรับคนทำงานไอทีแล้ว ร่างใหม่นี้ยังมีประเด็นสิทธิเสรีภาพอีกหลายประเด็น รายละเอียดทาง iLaw ได้รายงานเปรียบเทียบอย่างละเอียดไว้แล้ว

คำแนะนำวิธีปฏิบัติ ตาม พรบ. ความผิดคอมพิวเตอร์
- ไม่ตัดต่อเผยแพร่ภาพตัดต่อของผู้อื่น ที่ทำให้เขาเสียหายหรือเสียชื่อเสียง
- ก่อนดาวโหลดโปรแกรมหรือข้อมูลจากเว็บไซต์ ควรอ่านเงื่อนไขให้ละเอียดเสียก่อน
- ไม่ฟอร์เวิร์ดอีเมล์ หรือ Clip ภาพลามกอนาจาร หรือข้อความไม่เหมาะสม
- ไม่เผยแพร่ Spam mail หรือไวรัส
- ไม่เปิดเผยมาตรการระบบคอมพิวเตอร์ให้ผู้อื่นล่วงรู้
- ไม่ขโมยข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
- ระวังการ Chat กับคนแปลกหน้า อย่าหลงเชื่อเขาง่ายๆ
- อย่าลืม ลงโปรแกรมป้องกันไวรัสและสปายแวร์
- ไม่แฮกระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
- ไม่ควรบันทึก Password ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์และควรเปลี่ยน Password ทุกๆ 3 เดือน
- ไม่แอบดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
- ไม่นำเข้าข้อมูลหรือภาพลามก อนาจาร เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์






ข้อปฏิบัติ สำหรับผู้ดูแลระบบ
ไม่สนับสนุนหรือยินยอมให้ผู้ใช้บริการนำเข้า หรือเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมเขาไปในระบบคอมพิวเตอร์
ระงับการเผยแพร่เว็บไซต์ที่มีข้อมูลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคง ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี
ให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการสืบสวน สอบสวน หาตัวผู้กระทำผิด
ผู้ให้บริการจะต้องเก็บข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบไว้อย่างน้อย 90 วัน
ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องได้รับการปกป้องให้มีความน่าเชื่อถือ และไม่ถูกเปลี่ยนแปลงได้จากผู้ใช้และผู้ดูแลระบบ การเข้าถึงข้อมูล (แต่ห้ามเปลี่ยนแปลง) จะกระทำได้โดยผู้ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น
ข้อมูลที่เก็บนั้น จะต้องครอบคลุมการเข้าใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในทุกรูปแบบ (เช่นทั้ง wired และ wireless) และจะต้องสามารถระบุตัวผู้ใช้บริการเป็นรายบุคคลได้จริง
ผู้ให้บริการต้องตั้งเวลาของอุปกรณ์ทุกชนิดให้ตรงกับสากล โดยผิดพลาดไม่เกิน 10 มิลลิวินาที
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่ผู้ให้บริการต้องจัดเก็บคือ

คลิปวีดิโอเกี่ยวกับ พรบ. คอมพิวเตอร์




















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น