Baby Milk

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

ใบงานที่ 5 บทความสารคดีที่นำมาใช้สำหรับการเขียนโครงร่าง


น้ำสมุนไพรกับการลดความดันโลหิตสูง






              โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่เจริญแล้ว
แต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูงเป็นจำนวนมาก เป็นที่ทราบกันดีว่าความดันโลหิตสูง
เป็นโรคของคนสูงอายุ แต่ก็อาจเกิดกับเด็กและคนหนุ่มสาวได้ ซึ่งสาเหตุของความดันโลหิตสูงในช่วงอายุต่าง ๆ นี้ 
จะมีสาเหตุแตกต่างกัน
              องค์การอนามัยโลกได้กำหนดหลักเกณฑ์กว้าง ๆ สำหรับวินิจฉัยความดันโลหิตสูงในผู้ใหญ่ทุกอายุ
โดยการวัดค่าความดันโลหิตในท่านั่ง ดังนี้ ค่าความดันโลหิต ต่ำกว่าตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทลงมาถือเป็น
ความดันโลหิตปกติ ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 140/90 ถึง 160/95 มิลลิเมตรปรอท อยู่ในเกณฑ์ก้ำกึ่งเป็น
ความดันโลหิตระดับก้ำกึ่ง ต้องหมั่นตรวจเป็นระยะ ๆ ค่าความดันโลหิต ตั้งแต่  160/95 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
ถือเป็นความดันโลหิตสูง
           

สาเหตุ  ในผู้ใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูง จะทราบสาเหตุของโรคเพียงร้อยละ 10-20 เท่านั้น ซึ่งสาเหตุ
ส่วนใหญ่ ได้แก่ โรคไต เช่น โรคไตอักเสบเรื้อรัง โรคนิ่วในไต เป็นต้น นอกจากนี้อาจเกิดจากโรคของต่อมไร้ท่อ โรคของระบบประสาท หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ การใช้ยาคุมกำเนิด หรือการได้รับยาและสารบางชนิด ส่วนอีก
ร้อยละ 85-90 ของผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้น ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน แต่พบว่าปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิด
ความดันโลหิตสูงมีได้หลายประการ ดังนี้ 
             
 1.  พันธุกรรม ถ้าบิดามารดามีความดันโลหิตสูง บุตรหลานจะมีโอกาสที่จะมีความดันโลหิตสูงมากกว่า
คนธรรมดา 
              
2.  ความอ้วนและการกินเกลือมาก พบว่าความอ้วนมีความสัมพันธ์กับสมดุลของเกลือในร่างกาย ถ้าคนท
ี่มีความดันโลหิตสูง ลดปริมาณเกลือในอาหารแต่เพียงอย่างเดียว ความดันโลหิตมักจะไม่ลดลง แต่ถ้าลดความอ้วน
พร้อมกับลดปริมาณเกลือในอาหารด้วย ความดันโลหิตจะลดลงได้ 
             
3. การสูบบุหรี่ สารนิโคตินในบุหรี่จะกระตุ้นให้หลอดเลือดหดตัวมากขึ้น ทำให้ความดัน โลหิตสูง คนที่มี
ความดันโลหิตสูงอยู่แล้วสูบบุหรี่ด้วยจะเป็นอุปสรรคทำให้ลดความดันโลหิตได้ยาก และเกิดโรคแทรกซ้อนมากกว่า
คนที่ไม่สูบบุหรี่ 
            
4. ไขมันในเลือด ผู้ที่มีไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูง จะเป็นโรคหลอดเลือดตีบ แข็งได้ง่าย 
           
 5. โรคเบาหวาน คนที่เป็นโรคเบาหวานจะมีความผิดปกติของผนังหลอดเลือด หลอดเลือดจะตีบและ
ไม่ยืดหยุ่น 
            
6.  การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีการแข่งขัน การต่อสู้ การทำงานแข่งกับเวลา มีปัญหาการงาน  หรือปัญหาในครอบครัว ทำให้เกิดความเครียด ในขณะที่มีความเคร่งเครียด ระบบประสาทอัตโนมัติจะกระตุ้นต่อมหมวกไตให้หลั่งฮอร์โมนแอดรีนาลิน (Adrenalin Hormone) ออกมามากกว่าปกติ   ฮอร์โมนนี้จะทำให้หลอดเลือดหดตัวและ
เกิดความดันโลหิตสูง



ระดับความรุนแรงของ โรคความดันโลหิตสูง

ความรุนแรงของ โรคความดันโลหิตสูง แบ่งเป็น 3 ระยะคือ

           ระดับที่ 1 ความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรก ค่าความดันโลหิตระหว่าง 140-159/90-99 มม.ปรอท

           ระดับที่ 2 ความดันโลหิตสูงระยะปานกลาง ค่าความดันโลหิตระหว่าง 160-179/100-109 มม.ปรอท

           ระดับที่ 3 ความดันโลหิตสูงระยะรุนแรง ค่าความดันโลหิตมากกว่า 180/110 มม.ปรอท

          ทั้งนี้ การวัดความดันโลหิตควรจะวัดขณะนอนพัก และควรวัดซ้ำ 2-3 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นความดันโลหิตสูงจริง ๆ

ผู้ใดบ้างที่มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง
    ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมักจะเป็นผู้ที่
  • บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย พี่ ป้า น้า อา มีประวัติเป็นความดันโลหิตสูง โรคอ้วนหรือเบาหวานมาก่อน
  • เส้นโลหิตใหญ่ตีบตัน ได้แก่ เส้นโลหิตใหญ่ในช่องท้องหรือเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงไตตีบตัน ถ้าเป็นระยะแรก ๆ ในคนหนุ่มสาวจะแก้ไขได้โดยการทำผ่าตัด
  • มีเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต แก้ไขโดยการทำผ่าตัด
  • โรคครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะความดันโลหิตสูงที่เกิดรวมกับการตั้งครรภ์ ความดันโลหิตจะลดลงภายหลังคลอด
  • โรคไต เช่น ไตอักเสบ หรือโรคไตเรื้อรังบางชนิด
  • ใช้ยาคุมกำเนิดในสตรีบางคน ความดันโลหิตจะหลับปกติเมื่อหยุดยา
  • มีความเครียด วิตกกังวล


อาการที่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่พาผู้ป่วยมาโรงพยาบาลได้แก่
ปวดศีรษะ

ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดศีรษะในกรณีที่ความดันขึ้นอย่างรวดเร็วหรือเกิดภาวะ Hypertensive crisis โดยทั่วไปความดันโลหิตตัวบน Systolic จะมากกว่า 110 มม ปรอท หรือ Diastolic มากกว่า 110 มม ปรอท อาการปวดศีรษะมักจะปวดมึนๆบางคนปวดตลอดวัน ปวดมากเวลาถ่ายอุจาระ หากเป็นมากจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน

เลือดกำเดาไหล

ร้อยละ 17 ของผู้ป่วยที่เลือดกำเดาไหลจะเป็นความดันโลหิตสูงดังนั้นผู้ที่มีเลือดกำเดาออกต้องวัดความดันโลหิต
มึนงง Dizziness

อาการมึนงงเป็นอาการทั่วๆไปพบได้ในหลายภาวะ เช่นเครียด นอนไม่พอ ทำงานมากไป น้ำตาลในเลือดสูง แต่ก็อาจจะพบในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยมักจะบอกว่ารู้สึกไม่แจ่มใส สมองตื้อๆ

ตามัว

ในรายที่ความดันโลหิตสูงเป็นมากและมีการเปลี่ยนแปลงของจอรับภาพผู้ป่วยก็จะมีปัญหาทางสายตา


เหนื่อยง่ายหายใจหอบ

อาการหอบ เหนื่อยง่าย เวลาออกแรง เช่น เดิน วิ่ง ทำงาน มีสาเหตุมากมาย เช่น โลหิตจาง(ซีด) โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคปอด ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) แม้แต่ความวิตกกังวล หรือ โรคแพนิค ก็ทำให้เหนื่อยได้เช่นกัน อาการเหนื่อยง่ายจากโรคหัวใจ และ ภาวะหัวใจล้มเหลวนั้น จะเหนื่อย หอบ หายใจเร็ว โดยเป็นเวลาออกแรง แต่ในรายที่เป็นรุนแรง จะเหนื่อยในขณะพัก บางรายจะเหนื่อยมากจนนอนราบไม่ได้ (นอนแล้วจะเหนื่อย ไอ) ต้องนอนศีรษะสูงหรือ นั่งหลับ คำว่าเหนื่อย หอบ ในความหมายของแพทย์หมายถึง อัตราการหายใจมากกว่าปกติ แต่ในความหมายของผู้ป่วยอาจรวมไปถึง อาการเหนื่อยเพลีย หมดแรง เหนื่อยใจ

แน่หน้าอก

อาการต่อไปนี้เข้าได้กับอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด
เจ็บแน่นๆ อึดอัด บริเวณกลางหน้าอกส่วนใหญ่จะเป็นด้านซ้าย หรือ ทั้งสองด้าน (มักจะไม่เป็นด้านขวาด้านเดียว) บางรายจะร้าวไป ที่แขนซ้าย หรือ จุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน

อาการตามข้อ 1 เกิดขึ้นขณะออกกำลัง หรือทำงานหนัก เช่น เดินเร็วๆ รีบ หรือ ขึ้นบันได วิ่ง โกรธโมโห โดยมากมักจะไม่เกิด 10 นาที อาการดังกล่าวจะดีขึ้นเมื่อหยุดออกกำลัง

ในบางรายที่อาการรุนแรง อาการแน่นหน้าอกอาจเกิดขึ้นในขณะพัก เช่น นั่ง หรือ นอน หรือ หลังอาหาร
กรณีที่เกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อาการจะรุนแรงมาก อาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก มาก เป็นลม (อาการเช่นนี้ยังพบได้ในโรคของหลอดเลือดแดงใหญ่ปริ ฉีก)



น้ำตะไคร้รักษาได้





ตะไคร้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus Stapf. วงศ์ Poaceae (Gramineae) ตะไคร้ เป็นพืชล้มลุก เป็นพืชตระกูลหญ้า ชอบดินร่วนซุย ปลูกได้ตามพื้นที่โดยทั่วไป ลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ใบ ราก ลำต้น มีสรรพคุณทางยา และส่วนลำตันใช้ปรุงอาหาร

สรรพคุณ เป็นสมุนไพรไทย ที่รักษาโรคความดันโลหิตสูง

วิธีการนำสมุนไพรมาทำยารักษาโรคความดันโลหิตสูง

1 . นำลำต้นตะไคร้มาจำนวน 1- 2 ต้น มาต้ม โดยผสมน้ำ ประมาณ 1 ลิตร ต้มให้เดือด ดื่มวันละ 3 เวลา ก่อนรับประทานอาหาร 5 นาที ดื่มครั้งละ 1 แก้ว
2. นำใบตะไคร้ ประมาณ 9 – 10 ใบ มาต้ม โดยผสมน้ำ ประมาณ 1 ลิตร ต้มให้เดือด ดื่มวันละ 3 เวลา ก่อนรับประทานอาหาร 5 นาที ดื่มครั้งละ 1 แก้ว

ลองทำดูและต้องทำอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 วัน แล้วความดันโลหิตสูงจะทุเลาและหายในที่สุด





การรักษาโรคความดันโลหิตสูงด้วยสมุนไพร
     1. กระเจี๊ยบแดง เพียงนำกลีบเลี้ยงของดอกกระเจี๊ยบไปตากแห้งแล้วนำมาบดเพื่อชงดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นประจำทุกวันก็จะทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ เนื่องจากในกระเจี๊ยบแดงมีสารแอนโธไซยานินซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วก็จะไปช่วยเสริมสร้างให้หลอดเลือดแข็งแรง
     2. ตะไคร้ โดยนำตะไคร้มาต้มเป็นน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยอาหาร วันละ 3 ครั้ง หรือจะนำตะไคร้ซอยสดๆ ทำเป็นยำตะไคร้ทาน ก็จะช่วยลดความดันโลหิตได้
     3. มะกรูด จากการศึกษาพบว่า มะกรูดมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาช่วยลดความดันโลหิต เพียงนำใบมะกรูด 7-10 ใบมาต้มน้ำดื่มเช้า เย็นเป็นประจำทุกวันก็จะช่วยให้ความดันโลหิตเป็นปกติได้
     4. บัวบก โดยช่วยทำให้หลอดเลือดดำและเส้นเลือดฝอยแข็งแรงขึ้น และช่วยลดความเครียดได้ จึงช่วยลดความดันได้ดี วิธีรับประทานก็ไม่ยาก เพียงนำบัวบกทั้งต้นมาคั้นเอาแต่น้ำ ดื่มเป็นประจำทุกวัน โดยอาจจะเติมน้ำตาลเล็กน้อยหรือจะผสมกับน้ำใบเตยเพื่อลดรสชาติเหม็นเขียวก็ได้



ที่มาของข้อมูล






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น